ประวัติ จ.มุกดาหาร

ประวัติเมืองมุกดาหารในอดีต


ตราประจำจังหวัด รูปปราสาท

 

หมายถึง ปราสาทสองนางสถิตย์ มีอยู่ในมุกดาหารในปัจจุบัน ในปราสาทองค์กลาง มีแก้วมุกดาหารอยู่บนพาน ใต้พานมี ผ้าทิพย์รองรับ หน้าผ้าทิพย์มีอักษรไขว้ชื่อย่อของจังหวัด ในปราสาทองค์ริมทั้งสองข้าง มีบายศรียนตะลุ่มอันเป็นเครื่องบูชาของชาวอีสาน เบื้องหลังมีธาตุพนม ซึ่งจังหวัดมุกดาหารแยกมาและเคยอยู่ในอาณาจักรโคตรบูรณ์เดียวกัน มีแนวแม่น้ำโขงอยู่ด้านหลัง ด้านตะวันออกพระอาทิตย์กำลังทอแสงหลังหมู่ก้อนเมฆ 2525 เป็นปีที่ตั้งจังหวัดมุกดาหาร

 


ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร

นายชาญวิทย์ วสยางกูร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

คำขวัญจังหวัดมุกดาหาร

” หอแก้วสูงเสียดฟ้า     ภูผาเทิบแก่งกระเบา
แปดเผ่าชนพื้นเมือง   ลือเลื่องมะขามหวาน
กลองโบราณล้ำเลิศ   ถิ่นกำเนิดลำผญา
ตระการตาชายโขง    เชื่อมโยงอินโดจีน ”

ประวัติ
บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำโขง เคยเป็นดินแดนของอาณาจักรต่างๆ มาก่อนคือ
1. อาณาจักรฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6-11)
2. อาณาจักรเจนละ (พุทธศตวรรษที่ 12-14)
3. อาณาจักรขอม (พุทธศตวรรษที่ 15-18)
4. อาณาจักรล้านช้าง (พุทธศตวรรษที่ 19-22)
เดิมผู้คนพลเมืองในแถบกลุ่มแม่น้ำโขงนับถือเทวดาอารักษ์ หรือบางชุมชน ก็นับถือผีฟ้าแถน จวบจนกระทั่งเมื่ออาณาจักรล้านช้าง มีอำนาจมากขึ้นในแถบหัวเมืองกลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์ล้านช้าง (ครองราชย์ พ.ศ. 1896 – 1915) ได้รวบรวมราชอาณาจักรล้านช้างขึ้นเป็นปึกแผ่น และต่อมาได้นำเอาพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นมาสู่หัวเมืองแถบกลุ่มแม่น้ำโขง โดยได้อัญเชิญพระไตปิฎกขึ้นมาจากกรุงอินทปัตถนคร (ขอม) จนต่อมาได้เผยแพร่พุทธศาสนาออกไปอย่างกว้างขวาง มีการสร้างพระพุทธรูปและวัดวาอารามขึ้นมากมายในหัวเมืองสองฝั่งโขง ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 23 เมื่อราชอาณาจักรล้านช้าง และราชอาณาจักรศรีอยุทธยาเสื่อมอำนาจลง จนต้องสูญเสียเอกราชให้อพยพจากดินแดนเหนือ ลงมาตามลำแม่น้ำโขง เกิดระส่ำระสายพยายามตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นต่อเมืองใหญ่ ผู้คนเริ่มอพยพจากดินแดนทางเหนือ ลงมาตามลำแม่น้ำโขงมากขึ้น เพื่อแสวงหาดินแดนถิ่นที่อยู่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าและเพื่อตั้งตัวเป็นอิสระเช่น
1. พระตาพระวอ จากนครเวียงจันทร์ แยกมาตั้งอยู่ที่หนอบัวลำภู (จังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาได้
สวามิภักดิ์ต่อนครจำปาศักดิ์และกรุงธนบุรี ต่อมาบุตรหลานของพระตาพระวอได้แยกออกไปตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี, เมืองยโสธร, เมืองเขมราฐ ฯลฯ
2. เจ้าแก้วมลคลศานุศิษย์ของพระครูโพนเสม็ดได้อพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขงไปตั้งอยู่เมืองท่งต่อ
มาได้กลายเป็นเมืองสุวรรณภูมิ (อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด) และต่อมาได้แยกออกไปตั้งเป็นเมืองร้อยเอ็ด, มหาสารคาม, เมืองขอนแก่น, เมืองชนบท, เมืองโพนพพิสัย ฯลฯ
3. เจ้าโสมพมิต อพยพมาตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำปาวตั้งเป็นเมืองกาฬสินธุ์
4. เจ้าจันทรสุริยวงษ์ ศานุศิษย์ของท่านพระครูโพนเสม็ดอพยพมาตามลำแม่น้ำโขงไปตั้งอยู่ทางฝั่ง
ซ้ายแม่น้ำโขง ที่บ้านหลวงโพนสิม (บริเวณพระธาตุอิงอัง, แขวงสุวรรณเขตดินแดนลาวในปัจจุบัน) ในตอนปลายกรุงศรีอยุทธยา เจ้าจันทรสุริยวงษ์ตั้งอยู่ที่บ้านหลวงโพนสิมนานหลายสิบปี จนถึง “เจ้าจันทกินรี” ผู้เป็นบุตรเป็นหัวหน้าปกครองต่อมาอีก ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุทธยาเสียเอกราชให้แก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 บรรพบุรุษของชาวมุกดาหาร ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หลวงโพนสิมบริเวณพระธาตุอิงฮัง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้ข้ามมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยมุก (คำว่า บัง แปลว่า ห้วย) ได้พบเมืองร้าง, วัดร้าง, และพลต้นตาล 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขงจึงกลับไปรายงานให้เจ้ากินรีทราบ เจ้าจันทกินรีเห็นว่า คงเป็นเมืองโบราณมาก่อน และเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่า ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีปลาในแม่น้ำชุกชุม จึงได้พร้อมกันอพยพจากบ้านหลวงโพนสิมาตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุกใน พ.ศ. 2310 (จากบันทึกพงศาวดาร ฉบับลายมือเขียน ของ พระยาศศิวงษ์ประวัติ เจ้าเมืองมุกดาหารคนสุดท้าย) เมื่อเริ่มหักร้างถางพง เพื่อตั้งขึ้นใหม่ริมฝั่งโขงตรงปากห้วยมุก ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำโขงในบริเวณวัดร้างใกล้กับต้นตาล 7 ยอด พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน องค์เล็กเป็นพระพุทธเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้ร่วมกันสร้างวัดใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานมามวัดว่า “วัดศรีมุงคุน” หรือ “วัดศรีมงคล” เพื่อเป็นศิริมงคลแก่เมืองที่จะตั้งขึ้นใหม่
ต่อมาได้ก่อสร้างกุฎิและพระวิหารขึ้นภายในวัดพร้อมกับได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ที่อยู่ใต้ต้นโพธิ์ไปประดิษฐอยู่ในพระวิหาร ครั้นต่อมาปรากฎว่าพระพุทธรูปองค์เล็กซึ่งหล่อด้วยเหล็กเกิดปาฎิหารย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ดังเดิม จึงได้อัญเชิญขึ้นไปไว้บนพระวิหารอีกแต่ต่อมาก็กลับไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์อีกหลายครั้งหลายหนในที่สุดพระพุทธรูปองค์เหล็กนั้นก็ค่อยๆ จมหายลงไปในดินใต้ต้นโพธิ์คงเห็นแต่ยอดพระโมฬีหรือพระเกษาโผล่ขึ้นมาให้เห็นอยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง ต่อมาจึงได้สร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้นชาวเมืองจึงขนานนามพระพุทธรูปเหล็กที่จมดินว่า “พระหลุบเหล็ก” ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังหมดแล้ว คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่สร้างครอบไว้ และยกมาตั้งไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ ่ที่ก่ออิฐถือปูนและได้อัญเชิญ ขึ้นไปประดิษฐฐานอยู่ในพระวิหาร ชาวเมืองได้ขนานนามว่า “พระเจ้าองค์หลวง” เป็นพระประธานของวัดศรีมงคลใต้ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองตลอดมา เป็นเวลาอันยาวนานตั้งแต่เมืองมาจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นพระประธานในพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒสัตยา (ในสมัยราชาธิปไตย) ตลอดมาด้วย
ครั้นต่อมาได้มีผู้พบว่าในเวลากลางคืน ได้เห็นแก้วดวงหนึ่งสีสดใสเปล่งแสงเป็นประกายแวววาวเสด็จ (ลอย) ออกจากต้นตาลเจ็ดยอดลอยไปตามลำน้ำโขงจวบจนจวนรุ่งสว่างจึงเสด็จ (ลอย) กลับมาที่ต้นตาล 7 ยอดดังเดิมแทบทุกคืน เจ้านันทกินรีผู้เป็นหัวหน้าถือว่าเทพยดาอารักษ์ ได้แสดงปาฎิหารย์ปรากฎให้เห็นเป็นศุภนิมิต ในการตั้งเมืองขึ้นใหม่ จึงพร้อมกันขนานนามแก้วศุภนิมิตดวงนั้นว่า “แก้วมุกดาหาร” เพราะตั้งเมืองอยู่ริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุก อีกทั้งต่อมาได้มีผู้พบ “ไข่มุกด์” ในหอยกี้แม่น้ำโขงบ่อยๆ จึงประกาศให้ขนานนามเมืองว่า “เมืองมุกดาหาร” ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุนจุลศักราช 1132 (พ.ศ. 2313) อาณาเขตเมืองมุกดาหารครอบคลุมถึงสองฝั่งแม่น้ำโขงจนจรดแดนญวน (รวมเขตแขวงสุวรรณเขต ของลาวปัจจุบัน) ครั้งถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยขึ้นมาและต่อมาได้ทรงแผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท) ยกทัพขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง เพื่อราบปรามและรวบรวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงเทพมหานคร (กรุงธนบุรี) ตั้งแต่ครั้งนั้นมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ตั้งให้เจ้าจันทกินรีเป็น “พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช” เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเมืองว่า “เมืองมุกดาหาร”
1. พระยาจันทรศรีราชอุปราชามันธาตุราช (เจ้าจันทกินรี)พ.ศ. 2313 ถึง พ.ศ. 2347 รวม 34 ปี
พระยาจันทรศรีสุราชปราชามันธาตุราช (เจ้าจันทกินรี) เป็นต้นสกุล “จันทรสาขา” ดำรง
ตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร ตั้งแต่ พ.ศ. 2313 (สมัยกรุงธนบุรี) ได้แต่งตั้งกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ปกครองตามธรรเนียมของหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้อนุโลมให้จัดการปกครองตามธรรมเนียมการปกครองของอาณาจักรล้านช้างคือ
1.1 ท้าวกิ่ง ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
1.2 ท้าวอุ่น ดำรงตำแหน่งราชวงษ์
1.3 ท้าวชู ดำรงตำแหน่งราชบุตร
พร้อมด้วยตำแหน่งท้าวเพี้ยกรมการเมืองฝ่ายต่างๆ อีก คือ เมืองแสนจันทน์, เมืองซ้าย,เมืองกลาง, เมืองขวา, ชาเนตร, ชานนท์, ชาบัณฑิต, เมืองคุก, เมืองฮาม, นาเหนือ, นาใต้ ฯลฯ เมืองแสนว่าราชการฝ่ายใต้, เมืองจันทน์ว่าราชการฝ่ายเหนือ, เมืองกลางว่าราชการงานหนังสือ, เมืองขวา เป็นแม่ทับฝ่ายขวา เมืองซ้ายเป็นแม่ทับฝ่ายซ้าย, ชาเนตรหน้าที่เก็บรักษาหนังสือ, ชานนท์กำกับฝ่ายพระคลัง, ขาบัณฑิตร่างหนังสือ และอ่านคำสั่งหรือท้องตราจากเมืองหลวง, เมืองคุก, เมืองฮามทำหน้าที่พัศดีเรือนจำ นาเหนือ, นาใต้มีหน้าที่เก็บส่วยข้าวเปลือก จากราษฎรแล้วขึ้นฉางไว้ใช้ในราชการ (รวบรวมจากลัทธิธรรมเนียมล้านช้าง) พระยาจันทรศรีสุราชฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร 34 ปี ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2347 สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (จากบันทึกใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร)
2. พระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง)
พ.ศ. 2348 ถึง พ.ศ. 2383 พระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 2 เป็นบุตรพระยาจันทรศรีสุราช (เจ้าจันทกินรี) เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรกและเคยดำรงตำแหน่งอุปฮาดเมืองมุกดาหารมาก่อนดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดหาารตั้งแต่ พ.ศ. 2348 (สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่คือ
2.1 ท้าวอุ่น ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
2.2 ท้าวชู ดำรงตำแหน่งราชวงษ์
2.3 ท้าวแผ่น ดำรงตำแหน่งราชบุตร
ครั้งถึง พ.ศ. 2369 (สมัยรัชกาลที่ 3) เจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพมหานคร ญวนก็ได้เริ่มรุกรานดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาสงคราม และเจ้าอุปราช (ติสสะ) แห่งนครเวียงจันทร์เป็นแม่ทับโดยเจ้าอุปราชเวียงจันทน์ ยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร มิได้ร่วมเป็นกบฎกับเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ กองทับยกออกจากกรุงเทพฯสมทบกองทัพหัวเมืองชายแดน มีกอบทับเมืองหนองคาย, เมืองท่าอุเทน, เมืองไชยบุรี (ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม) เมืองนครพนม, เมืองมุกดาหาร, เมืองเขมราฐ และเมืองอุบลราชธานี ยกกองทับออกไปกวาดต้อนมาในครั้งนั้นจึงมีหลายเชื้อชาติและหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ผู้ไทย ข่า กะโซ่ กะเลิง แสก ย้อ ฯลฯ เป็นต้น
พระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารอยู่ 35 ปี ถึงแก่กรรมเมื่อวันแรม 5 ค่ำเดือนอ้าย ปีชวด โทศกจุลศักราช 1202 ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2383 ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (จากใบลานบันทึกพงศาวดารเมืองมุกดาหาร)
3. พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) พ.ศ.2384 ถึง พ.ศ.2405
เมื่อพระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองถึงแก่กรรม ท้าวพรหมผู้เป็นบุตรและเป็นอุปฮาด
เมืองมุกดาหารได้เป็นผู้รักษาเมืองแทนต่อมา ครั้งถึง พ.ศ. 2387 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานศัญญาบัตรตั้งให้ “ท้าวพรหม” เป็นพระจันทรสุริยวงษ์ เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 3 ตั้งแต่วันศุกร์แรม 11 ค่ำเดือน 8 ปีมะโรงศกจุลศักราช 1206 ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2387 (จากจดหมายเหตุ ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 33 หอสมุดแห่งชาติ) ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือ
3.1 ท้าวคำ ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
3.2 ท้าวสุราช ดำรงตำแหน่งราชวงษ์
3.3 ท้าวจีน ดำรงตำแหน่งราชบุตร
พ.ศ. 2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวผู้ไทยซึ่งอพยพจากทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
จากเมืองวังและเมืองคำอ้อ (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาวปัจจุบัน) ไปตั้งอยู่ที่บริเวณดงบังอี่และห้วยบังอี่ตั้งขึ้นเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร (ท้องที่ อ.คำชะอี และ อ.หนองสูง ปัจจุบัน) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสีหนามเป็น “พระไกรสรราช” เจ้าเมืองหนองสูงคนแรกขึ้นเมืองมุกดาหารเขตเมืองหนองสูง ตั้งแต่ห้วยทรายครอบคลุมถึงท้องที่ อ.หนองสูง และท้องที่ อ.นาแก จ.นครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 33 หอสมุดแห่ชาติ) พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร อยู่ 20 ปี ตั้งแต่ อายุ 58 ปี ถึงแก่กรรมเมื่อวันศุกร์ขึ้น 10 ค่ำเดือน 11 ปีจอ จัตวาศก จ.ศ. 1224 (สมัยรัชกาลที่ 4) ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2405 ขณะที่ถึงแก่กรรมอายุ 79 ปี (จากจดหมายเหตุ ร.4 จ.ศ. 1224 เลขที่ 12 หอสมุดแห่งชาติ)
4. เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหารราธิบดี (เจ้าหนู)
พ.ศ. 2408 ถึง พ.ศ. 2412 เมื่อพระเจ้าจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 3 ถึงแก่กรรม อุปฮาด (คำ) ได้เป็นผู้รักษาเมืองต่อมาอีกปี จนถึง พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ “เจ้าหนู” โอรสเจ้าอุปราช (ติสสะ) แห่งนครเวียงจันทน์ซึ่งสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ และรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดหาร เจ้าหนูเป็นราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าหนูเป็น “เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี” เจ้าเมืองมุกดาหาร พระราชทานเครื่องราชอิสสริยยศเสมือนหนึ่งเจ้าเมืองประเทศราช คือ พานหมากทองคำ, กระโถนทองคำ, กระบี่บั้นทอง, ปืนคาบศิลาคอลายท้ายตลับ เสื้อและหมวกตุ้มปียอดทองคำทรงประภาสและแคร่หาม ฯลฯ เป็นเครื่องยศบรรดาศักดิ์ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีแรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปี ฉลูสัปตศก จ.ศ. 1227 ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 (จากจดหมายเหตุ ร.4 จ.ศ. 1227 เลขที่ 25 หอสมุดแห่งชาติ) ส่วนอุปฮาด (คำ) กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ของเมืองมุกดาหารซึ่งเป็นผู้รักษาเมืองอยู่ถึง 3 ปี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น “พระพฤกษมนตรี” ตำแหน่งจากวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร ประกอบด้วย กรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือ
4.1 พระพฤกษมนตรี (คำ) จางวางที่ปรึกษาราชการ
4.2 ท้าวจีน ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
4.3 เจ้าดวงเกษ (บุตรเจ้าเมือง) ดำรงตำแหน่งเจ้าราชวงษ์
4.4 พระราชกิจภักดี (ท้าวศรีสุราช) พระศรีวรวงศ์ พระศรีวรราช พระวรบุตรภักดี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หัวเมืองชายแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเสมือน
หนึ่งหัวเมืองประเทศราช คือ เมืองนครจำปาศักดิ์ มีเจ้ายุตติธรรมธรเป็นเจ้าผู้ครองนคร, เมืองอุบลราชธานีเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ราชนัดดาเข้าอนุวงษ์ แห่งนครเวียงจันทร์เป็นเจ้าเมือง และเมืองมุกดาหารมีเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ฯ เป็นเจ้าเมือง พ.ศ. 2409 เจ้าเมืองมุกดาหารได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอยกบ้านบัง ทรายในเขตเมืองมุกดาหารขึ้นเป็นเมืองจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านบังทราบ (บางทราย) ขึ้นเป็น “เมืองพาลุกากรภูมิ” ขึ้นเป็นเมืองมุกดาหาร คำว่า “พาลุกา” มาจากคำว่า “พาลุกา” ในภาษาบาลีซึ่งแปลว่า “ทราย” แต่เมื่อตั้งเมืองย้ายขึ้นไปตั้งเมืองเหนือบ้านบางทรายขึ้นไปอีกคือไปตั้งที่หมู่บ้านพาลุกาในท้องที่อำเภอหว้านใหญ่ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ “ท้าวทัด” บุตรราชวงษ์ (ทัง) เมืองมุกดาหาร และเป็นหลานของพระยาจันทรสุริยวงษ์ เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 2 เป็นเจ้าเมืองมุกดาหารคนแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองพาลุกากรภูมิว่า “พระอมรนฤทธธาดา” เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ฯ เจ้าเมืองมุกดาหารได้จัดเครื่องราชบรรณาการมีต้นไม้ทองและ
ต้นไม้เงินสูง 9 ชั้นหนักต้นละ 2 ตำลึง 3 บาท พร้อมด้วยนรนาต 2 ยอด งาช้าง 12 กิ่ง สีผึ้งหนัก 2 หาบกับเงินส่วยอีก 10 ชั่ง 10 ตำลึง เป็นเครื่องราชบรรณาการเสมือนอย่างเมืองประเทศราชลงไปทูลเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2410 (สมัยรัชกาลที่ 4) เป็นปีแรกและเป็นธรรมเนียมของเมืองมุกดาหารตลอดมา (จากเอกสาร ร.4 จ.ศ.1229 เลขที่ 310 หอสมุดแห่งชาติ) หัวเมืองในภาคอีสานที่ถวายต้นไม้ทอง, ต้นไม้เงินเสมือนหนึ่งเมืองชายแดนประเทศราชเคยมีสองเมืองเท่านั้นคือ เมืองนครพนม และเมืองมุกดาหาร
ครั้งถึง พ.ศ. 2411 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เสด็จสวรรคต และต่อมารัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์แทนต่อมากรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ของเมืองมุกดาหาร มีพระพฤกษมนตรี จางวางเมืองมุกดาหารเป็นหัวหน้าได้ฟ้องกล่าวโทษเจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ฯ เจ้าเมืองมุกดาหารลงไปกรุงเทพฯ ว่าประพฤติตนไม่เหมาะสม เบียดบังเงินหลวงและเบียดเบียนข่มแหงราษฎรจนได้รับความเดือนร้อนจึงทรงพระกรุณา ให้ถอดเจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์) และเจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายกได้ปรึกษาเห็นพร้อมกันให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ให้ถอดเจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ฯ ออกจากตำแหน่งเมืองมุกดาหารหลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารได้เพียง 5 ปี (จากจดหมายเหตุ ร.5 จ.ศ. 1231 เล่ม 3 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) เมืองขึ้นและกองขึ้นเมืองมุกดาหารในยุคนั้นประกอบด้วย
1. เมืองหนองสูง พระไกรสรราช เจ้าเมือง เขตเมืองหนองสูง ซึ่งขึ้นกับเมืองมุกดาหาร
คือท้องที่อำเภอคำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราบ) อำเภอหนองสูง และท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนมด้วย
2. เมืองพาลุกากรภูมิ พระอมรฤทธิธาดา เจ้าเมือง คือ ท้องที่อำเภอหว้านใหญ่ ใน
ปัจจุบันจนถึงลำน้ำก่ำของเขตอำเภอธาตุพนม
3. เมืองสองคอนดอนดง พระจำเริญพลรบ เจ้าเมือง ปัจจุบันในดินแดนลาวแขวง
สุวรรณเขต เดิมขึ้นเมืองอุบลราชธานียกมาขึ้นเมืองมุกดาหารในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2408 (จากเอกสาร ร.4 จ.ศ. 1227 เลขที่ 282 หอสมุดแห่งชาติ)
4. เมืองลำเนาหนองปรือ พระจุมพลภักดี เจ้าเมือง ปัจจุบันอยู่ในดินแดนลาวฝั่งซ้าย
แม่น้ำโขง ในแขวงสุวรรณเขต ซึ่งลาวเรียกว่า “เมืองน้ำเนา” แต่ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน คือ บริเวณเมืองแก่งกอกและเมืองสะคึน คือ ท้องที่เมืองจำพอน ในปัจจุบันสมัยรัชกาลที่ 5 ยกไปขึ้นเมืองอุบลราชธานี
5. เมืองประชุมชนาลัย ปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ดินแดนลาวอยู่ตรงข้างกับ
อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (เมืองขึ้นสมัยก่อนไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ติดต่อกับเมืองที่ต้องขึ้น) เนื่องจากเจ้าจันทรเทพฯ เจ้าเมืองถือว่าเมืองมุกดาหารเสมือนหนึ่งหัวเมืองชายแดนประเทศราช จึงจะพยายามขยายอาณาเขตให้กว้างใหญ่ไพศาลเพื่อทดแทนนครเวียงจันทน์ซึ่งถูกทำลายจนกลายเป็นเมืองร้างและทางกรุงเทพฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้นครเวียงจันทน์มีอำนาจขึ้นอีก เจ้า
จันทรเทพฯ เจ้าเมืองมุกดาหารจึงได้อพยพพวกลายพวนและผู้ไทยจากเมืองเชียงขวาง และเมืองช้ำเมืองซ้ำเหนือให้อพยพมาตั้งที่บ้านมวนริมฝั่งโขงตรงข้างกับเมืองบึงกาฬ ต่อมาได้ทรงประชุมชนาลัยไม่ยอมขึ้นกับเมืองหนองคาย ปัจจุบันลาวเรียกว่า “เมืองประชุม” ถือเป็นเมืองเก่าแต่ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้านแล้ว (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 5 จ.ศ. 1233 หอจดหมายเหตุแห่ชาติ)
6. เมืองวังอ่างคำ ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขตติดดินแดนลาว ห่างจากดินแดนเวียต
นามประมาณ 50 ก.ม. เป็นถิ่นที่ผู้ดั้งเดิมของชาวผู้ไทย แยกออกเป็น 2 เมืองคือ
. เมืองวังมล พระนาคีรัตนวงษา เป็นเจ้าเมือง
. เมืองวังคำ พระสุวรรณภักดี เป็นเจ้าเมือง
เมืองวังมลและเมืองวังคำเป็นถิ่นกำเนิดของชาวผู้ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากปราบ
ปรามกบฎเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์แล้ว กองทับไทยซึ่งประกอบไปด้วยกอบทับจากกรุงเทพฯ สมทบกอบทัพเมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองสกลนคร ฯลฯ ได้ยกข้ามโขงไปกวาดต้อนชาวผู้ไทยให้อพยพมาตั้งบ้านตั้งบ้านเมืองทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงเพื่อมิให้เป็นกำลังแก่นครเวียงจันทน์และญวน ต่อมาจึงได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเช่นเมืองหนองสูง เมืองเรณูนคร เมืองกุฉินารายณ์ เมืองวาริชภูมิ เมืองพรรณานิคม ฯลฯ แต่เมื่อกองพทับไทยยกออกไป “พระนาคีรัตวงษา” เจ้าเมืองวังมลได้หลบหนีกองทัพไทยออกไปหลบซ่อนอยู่ในเขตญวน หรือเวียตนามปัจจุบัน เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วจึงได้กลับออกมาตั้งบ้านตั้งเมืองที่เมืองวังมลอีก คงมีแต่กรรมการเมืองชั้นรองๆ ลงมาพาพรรคพวกอพยพมาตั้งบ้านเมืองในดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน) เจ้าเมืองมุกดาหารจึงให้เจ้าเมืองวังมลดื่มน้ำพระพิพัฒสัตยาว่าจะสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร และขอส่งส่วยให้เมืองมุกดาหารปีละ 4 ตำลึง 2 บาท ทุกปี (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ. 1204 เลขที่ 1 หอสมุดแห่งชาติและประชุมพงษาวดาร ภาค 70)
7. เมืองที่มีฐานะเป็นกองนอกและกองส่วย หมู่บ้านหลายหมู่บ้านจะรวมกันเป็นหมวด
(เทียบเท่าตำบล) และหลายหมวดอาจจะรวมกันขึ้นเป็นกอง (เสมือนหนึ่งกิ่งอำเภอ) เรียกว่ากองนอกหรือกองส่วย มีนายกองปลัดเป็นผู้ควบคุมและมีนายหมวดนายหมู่ควบคุมเป็นชั้นๆ ลงไป (ยังไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
7.1 กองข้าพระเจดีย์พระธาตุพนม กองนี้มิได้ขึ้นกับเมืองมุกดาหาร โดยเด็ดขาดแต่ให้
อยู่ในความดูแลของเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารร่วมกัน เพราะว่าเขตแดนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหารแบ่งเขตแดนกันที่หน้าที่หน้าองค์พระธาตุพนมหัวหน้ากองข้างพระธาตุพนมได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า “พระพิทักษ์เจดีย์” พลเมืองในกองนี้เป็นแลกข้าพระได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียส่วย แต่นายกองมีหน้าที่ต้องเกณฑ์สิ่งของ เช่น อิฐ ปูน ทราย กรวด ไว้บูรณะปฎิสังขรณ์องค์พระธาตุพนมและเกณฑ์คนให้เปลี่ยนเวรกันอยู่รักษาองค์พระธาตุพนม (จากเอกสาร ร.5 ม2. 12ก. เล่ม 20 ร.ศ. 107 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
7.2 กองบ้านไผ่ อยู่ในเขตเมืองจำพอน (ชุมพร) แขวงสุวรรณเขตปัจจุบัน นายกองมี
บรรดาศักดิ์ว่า “หลวงสุริยวงษา” เก็บส่วยผลเร่วส่วย (หมากแหน่ง) ปีละ 10 หาบหลวง (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 33 หอสมุดแห่งชาติ)
7.3 กองบ้านผึ่งแดด อยู่ในแขวงสุวรรณภูมิเขตดินแดนลาวปัจจุบัน นายกองส่วยมีนาม
ว่า “ท้าวโพธิสาร” เก็บส่วยเป็นเงินปีละ 3 ชั่ง 10 ตำลึง ส่งเมืองมุกดาหารหรือผลเร่ว (หมากแหน่ง) หนักปีละ 14 หาบหลวง
7.4 กองส่วยบ้านโคก อยู่ในแขวงสุวรรณเขตดินแดนลาวปัจจุบัน นายกองส่วยมี
บรรดาศักดิ์ว่า “พระรัษฎากรบริรักษ์” ปลัดกองมีบรรดาศักดิ์ว่า “หลวงพิทักษ์สุนทร”

5. เจ้าจันทรสุริยวงษ์ (คำ) พ.ศ. 2413 ถึง พ.ศ. 2420
เมื่อเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี เจ้าเมืองมุกดาหารถูกถอดออกจาก
ตำแหน่งแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกลาที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสัญญาบัตรประทับพระราชสัญจกรตั้งให้ “พระพฤกษมนตรี (คำ) จางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหารเป็น “พระจันทรสุริยวงษ์” เจ้าเมือง ตั้งแต่วังอังคารแรม 11 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมียโทศก จุลศักราช 1232 ตรงกับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2413 (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 3 จ.ศ. 1232 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พระจันทรสุริยวงษ์ (คำ) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 5 เป็นบุตร พระยาจันทรสุริยวงษ์
(กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 3 พระจันทรสุริยวงษ์ (คำ) เคยดำรงตำแหน่งราชบุตร ราชวงษ์ อุปฮาด และจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหารมาก่อนกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ประกอบด้วย
5.1 อุปฮาด (จีน) เป็นพระพฤกษมนตรี จางวางที่ปรึกษาราชการ
5.2 ราชบุตร (แท่ง) ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
5.3 ท้าวบุญเฮ้า ดำรงตำแหน่งราชวงษ์
5.4 ท้าวเล ดำรงตำแหน่งราชบุตร
5.5 พระราชกิจภักดี (อุทุม) พระวรบุตรภักดี (ดี) พระศรีวรราช พระศรีวรวงษ์ ดำรง
ตำแหน่งผู้ช่วยราชการ พระจันทรสุริยวงษ์ (คำ) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารอยู่ 8 ปี ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันอาทติย์แรม 12 คำปีฉลู นพศกจุลศักราช 1239 ตรงกับวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2420 (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 3 จ.ศ. 1239 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
6. พระจันทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า)
พ.ศ. 2421 ถึง พ.ศ. 2430
เมื่อพระจันทรสุริยวงษ์ (คำ) เจ้าเมืองถึงแก่กรรมและต่อมาอุปฮาด (แท่ง) ก็ได้ถึงแก่กรรม
อีก ราชวงษ์ (บุญเฮ้า) จึงได้เป็นผู้รักษาเมืองแทนต่อมา จึงถึง พ.ศ. 2422 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรประทับพระราชสัญจกรตั้งให้ ราชวงษ์ (บุญเฮ้า) เป็น “พระจันทรสุริยวงษ์” เจ้าเมืองมุกดาหารตั้งแต่วันเสาร์ขึ้น 2 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ เอกศกจุลศักราช 1242 ตรงกับวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 (จากเอกสาร ร. 5 มท. เล่ม 16 จ.ศ. 1241 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่คือ
6.1 ราชบุตร (เล) ดำรงตำแหน่งอุปฮาด
6.2 ท้าวเสือ ดำรงตำแหน่งราชวงษ์
6.3 ท้าวเมฆ ดำรงตำแหน่งราชบุตร
6.4 พระราชกิจภักดี (ท้าวขัตติยะ) พระศรีวรวงษ์ (ท้าวโพธิราช) พระศรีวรราช พระวร
บุตรภักดี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการ
พระจันทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2354 (สมัยรัชกาลที่ 2) ดำรงตำแหน่งเจ้า
เมืองมุกดาหารเมื่ออายุ 66 ปี ดำรงตำแหน่งอยู่ 9 ปี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 76 ปี เมื่อวันพุธแรม 1 ค่ำเดือน 5 นพศก จุลศกราช 1249 ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2430 (จากราชกิจจานุเบกษา จ.ศ. 1250)
7. พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) พ.ศ. 2430 ถึง พ.ศ. 2440
เมื่อ พระจันทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองมุกดาหารถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2430 แล้ว ราชบุตร (เมฆ) ได้เป็นผู้รักษาเมืองแทนเพราะว่าอุปฮาด ราชวงษ์ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว ราชบุตร (เมฆ) ได้ว่าที่ (รักษาการ) เจ้าเมืองต่อมาอีก ถึง 3 ปี จนถึง พ.ศ. 2434 จึงได้เดินทางลงไปรับพระราชทานสัญญาบัตรในตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารที่กรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสัญญาบัตรประทับพระราชสัญจกรตั้งให้ ราชบุตร (เมฆ) เป็น พระจันทรเทพสุริยวงษ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหาร ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม ร.ศ. 110 (จากราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. 110) ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่คือ
7.1 ท้าวเสริม ดำรงตำแหน่งอุปฮาต
7.2 ท้างแสง ดำรงตำแหน่งราชบุตร
7.3 ท้าวแป้น ดำรงตำแหน่งราชบุตร
7.4 พระวรบุตรภักดี (อ่าง) พระศรีวรวงษ์ พระราชกิจภักดี พระศรีวรราช ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยราชการ
พระจันทรเทพสุริยวงษา (เมฆ) ภายหลังเมื่อดำรงตำแหน่งจางวางที่ปรึกษาราชการเมือง
มุกดาหารได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาศศิวงษ์ประวัติ” ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “จันทรสาขา” จากราชการที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2457 พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) เป็นอุปฮาด (แท่น) และอุปฮาด (แท่น) เป็นบุตร พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 3 พระจันทรสุริยวงษ์ (พรหม) เป็นบุตรพระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหารในลำดับที่ 2 และพระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) เป็นบุตร พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชมันธาตุราช (เจ้าจันทกินรี) เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรกผู้ก่อตั้งเมืองมุกดาหาร ครั้นถึง ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำริเห็นว่า เมื่อฝรั่งเศสได้ดินแดนเขมรและญวนแล้วต่อไปก็คงรุกล้ำเข้ามาทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงของราชอาณาจักรไทย (ดินแดนลาวปัจจุบัน) อีก จึงทรงปรับปรุงการปกครองของหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างรีบด่วน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ออกมาประจำหัวเมืองชายแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงต่างพระเนตรกรรณคือ
(1) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ดำรงตำแหน่งข้างหลวงต่างพระ
องค์สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวนตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองหนองคาย มีอำนาจปกครองเมืองหนองคาย เมืองหล่มศักดิ์ เมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน เมืองนครพนม เมืองหนอหาร เมืองสกลนคร เมืองกมุทาไสย (หนองบัวลำภู) เมืองโพนพิสัย รวมทั้งเมืองขึ้นเมืองเหล่านี้ด้วย
(2) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์
สำเร็จราชการหัวเมืองลาวกาว มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ (ประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี) มีอำนาจปกครองเมืองจำปาศักดิ์ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ เมืองสังขะ เมืองสุรินทร์ เมืองศรีษะเกษ เมืองยโสธร เมืองกมลาสัย เมืองกาฬสินธุ์ เมืองเขมราฐ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองเดชอุดม เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคามและเมืองขึ้นเมืองเหล่านี้อีก
(3) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ดำรงตำแหน่งข้างหลวงสำเร็จราช
การหัวเมืองลาวพุงขาว ตั้งกองบัญชาการอยู่นครหลวงพระบาง แต่มิได้เสด็จไป คงประทับอยู่ที่เมืองนครราชสีมาและให้ข้าหลวงที่ 2 ไปแทน (ภายหลังพระองค์ดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมืองลาวกาวประทับ อยู่ ณ เมืองอุบลราชธานีครั้งถึง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เมื่อราชอาณาจักรไทยต้องสูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนประเทศลาวปัจจุบัน) ให้แก่ฝรั่งเศส อาณาเขตของเมืองมุกดาหารฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือ ท้องที่แขวงสุวรรณเขตของลาวในปัจจุบันต้องสูญเสียไปด้วย เมืองมุกดาหารต้องสูญเสียดินแดนไปถึง 3 ส่วนคงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียง 1 ส่วน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าภัยจากการแสวงหาอาณานิคมของมหาอำนาจกำลังคืบคลานเข้ามาและยังไม่หยุดยั้ง จึงได้ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคในหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเป็นที่ปรึกษาและกำกับราชการเมืองนั้นๆ ด้วย การกราบบังคมทูลรายงานราชการหรือใบบอกราชการข้างหลวงประจำเมือง และเจ้าเมืองต้องปรึกษาและลงนามร่วมกันในหนังสือราชการด้วย ใน พ.ศ. 2436 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระภักดีนุชิต (จันทร์ อินทรกำแหง) เป็นข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหารคนแรก พระภักดีนุชิต ผู้นี้ได้เป็นข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหารอยู่ถึง 4 ปี จนถึง พ.ศ. 2439 จึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา เมื่อ เดินทางกลับได้เดินทางขึ้นไปตามลำน้ำโขงเพื่อไปยังเมืองหนองคายก่อน แต่ก็ถูกฝรั่งเศสจับกุมในลำน้ำโขงโดยถูกกล่าวหาว่านำทหารไทยล่วงล้ำเข้ามาในลำน้ำโขง เป็นการผิดสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส กักขังอยู่ที่เมืองสุวรรณเขตถึง 6 เดือน ต่อมาพระภักดีนุชิตผู้นี้ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยากำแหงสงคราม เมื่อดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา พ.ศ. 2437 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ย้ายกองบัญชาการหัวเมืองลาวพวนจากเมืองหนองคายไปตั้งอยู่ ณ บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี) เนื่องจากสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสห้ามมิให้ตั้งกองทหารไทในเขต 25 กิโลเมตรจากริมฝั่งโขงและทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน (หัวเมืองลาวพวนเดิม) พ.ศ. 2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117 ขึ้น โดยได้ปฎิรูปการปกครองหัวเมืองให้เหมือนให้เหมือนกันหมดทุกเมืองทั่วราชอาณาจักร สำหรับหัวเมืองแถบลุ่มแม่น้ำโขงให้ยกเลิกการปกครองตามธรรมเนียมโบราณที่เคยมีตำแหน่ง เจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงษ์ ราชบุตรมาก่อนตามธรรมเนียมเดิม เป็น ผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกบัตรเมือง ฯลฯ ให้เหมือนกันหมดทุกเมืองทั่งราชอาณาจักร เจ้าเมืองเก่า ๆ ที่อายุมากก็ยกขึ้นให้มีตำแหน่งเป็นจางวางที่ปรึกษาราชการของเมืองนั้นๆ ส่วนกรมการเมืองก็เริ่มได้รับพระราชทานเงินเดือนเป็นครั้งแรก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พระจันทรเทพสุริยวงษา (เมฆ) เจ้าเมืองมุกดาหารเป็น พระยาศศิวงษ์ประวัติ ถือศักดินา 3,000 ไร่ และดำรงตำแหน่งจางวางที่ปรึกษาราชการเมืองมุกดาหาร พร้อมทั้งได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี ๆ ละ 500 บาท ต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งกรมการพิเศษจังหวัดนครพนมอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เมื่อยุบเมืองมุกดาหารลงเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมตั้งแต่ง พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา) เกิดเมื่อวันอาทิตย์เดือน 12 ปีมะเส็ง จุลศักราช 1207 พ.ศ. 2388 (สมัยรัชกาลที่ 3) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองมุกดาหารเมื่ออายุ 46 ปี ถึงแก่กรรมเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2460 (สมัยรัชกาลที่ 6) รวมอายุได้ 72 ปี
8. พระจันทรสุริยวงษ์ (แสง จันทรสาขา)พ.ศ. 2441 ถึง พ.ศ. 2449 เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ตรา “ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. 117” ขึ้นแล้วจึงได้ประกาศให้เปลี่ยนนามมณฑลลาวพวน เป็น มณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวกาว เป็น มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี) มณฑลลาวกลาง เป็น มณฑลนครราชสีมา มณฑลลาวเฉียง เป็นต้น มณฑลตวันตกเฉียงเหนือ (เชียงใหม่) ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 5 มิถุนายน ร.ศ. 118 (ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ.118) เมืองมุกดาหารจึงขึ้นกับการปกครองของมณฑลฝ่ายเหนือโดยมีกองบัญชาการมณฑลตั้งอยู่ที่บ้านหมากแข้ง (อุดรธานี) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์ (แสง) บุตรพระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ) อดีเจ้าเมืองมุกดาหาร เป็น เป็นพระจันทรเทพสุริยวงษ์ ผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหารคนแรก ประกอบด้วยกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ตามข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง พร้อมกับได้พระราชฃทานบรรดาศักดิ์ให้แก่กรมการเมืองเก่าๆ ในตำแหน่งหน้าที่ใหม่ ตลอดทั้งเริ่มได้พระราชทานเงินเดือนเป็นครั้งแรกคือ
8.1 อุปฮาด (เสริม) เป็น พระดำรงมุกดาหาร ตำแหน่งปลัดเมือง
8.2 ราชบุตร (แป้น) เป็น พระวิจารณ์อธิกรณ์ ตำแหน่งศาลเมือง
8.3 ท้าวสุก เป็น หลวงวิจารณ์อักขรา ตำแหน่งมหาดไทยเมือง
8.4 ท้าวเคน เป็นหลวงบุรินทร์มุกดารักษ์ ตำแหน่งนครบางเมือง
8.5 ท้าวแสง เป็น หลวงธนากาญจนกิจ ตำแหน่งคลังเมือง
8.6 ท้าวหนู เป็น หลวงสมัคร์นครมุก ตำแหน่งโยธาเมือง (จากทำเนียบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. 118)ครั้นถึง พ.ศ. 2443 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศเปลี่ยนนาม มณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดร มณฑลตวันออกเฉียงเหนือเป็นมณฑลอีสาน (อุบลราชธานี) มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือเป็นมณฑลพายัพ (เชียงใหม่) ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2443 (ราชกิจานุเบกษา ร.ศ.119) เมืองมุกดาหารจึงขึ้นกับการปกครองของมณฑลอุดรมณฑลอุดร แบ่งการปกครองออกเป็น 12 เมืองคือ เมืองหนองคาย (เมืองเอก) เมืองท่าอุเทน (เมืองตรี) เมืองไชยบุรี (เมืองจัตวา) เมืองนครพนม (เมืองตรี) เมืองสกลนคร (เมืองโทร) เมืองมุกดาหาร (เมืองตรี) เมืองขอนแก่น (เมืองตรี) เมืองกมุทาสัย (หนองบัวลำภู) เมืองโพนพิสัย (เมืองตรี) เมืองชนบท (เมืองจัตวา) เมืองท่าบ่อ (เมืองจัตวา) และเมืองข้นเมืองเหล่านี้อีก พ.ศ. 2440 หลังจากที่ พระภักดีนุชิต (จันทร์ อินทรกำแหง) ข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหารย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมาและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยากำแหงสงคราม แล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ขุนพิทักษ์ธุระกิจ (จ๋วน สกุลเวช) เป็นข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหาร (ภายหลังเลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็น หลวงผลานันทกิจ) พ.ศ. 2444 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระอนุชาติวุฒาธิคุณ (แพ ณ หนองคาย) เป็นข้าหลวงประจำเมืองมุกดาหาร พ.ศ. 2446 มณฑลอุดร แบ่งการปกครองออกเป็น 5 บริเวณ แต่ละบริเวณยังแบ่งออกเป็นเมืองแต่ละเมืองยังแบ่งออกเป็นอำเภออีก (ยังมิได้จัดแบ่งเป็นจังหวัดและอำเภอ) แต่ละบริเวณมีข้าหลวงประจำบริเวณ และแต่ละเมืองยังส่งข้าหลวงออกมาอยู่ประจำเมืองอีกเพื่อเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการเมืองซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นเดิมหรือเคยเป็นเจ้าเมืองเดิมมาก่อนส่วนเมืองเล็กๆ ก็ถูกยุบลงเป็นอำเภอหรือเป็นหมู่บ้าน คือ
(1) บริเวณหมากแข้ง (อุดรธานี) แบ่งออกเป็น 6 เมือง คือ เมืองหนองคาย เมืองโพน
พิสัย เมืองกุมภวาปี เมืองกมุทาสัย (หนองบัวลำภู) และเมืองท่าบ่อ
(2) บริเวณสกลนคร แบ่งออกเป็น 6 เมือง คือ เมืองวาริชภูมิ เมืองพรรณานิคม เมือง
สว่างแดนดิน เมืองวานรนิวาส เมืองจำปาชนบท (พังโคน) และเมืองสกลนคร
(3) บริเวณพาชี (ขอนแก่น) แบ่งออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองขอนแก่น เมืองชนบท
และเมืองภูเวียง
(4) บริเวณน้ำเหือง (เมืองเลย) แบ่งออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองเลย เมืองด่านซ้าย
และเมืองเชียงคาน
(5) บริเวณธาตุพนม แบ่งออกเป็น 4 เมือง ที่วาการบริเวณตั้งอยู่ที่นครพนม โดยมี
พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อนภูมิรัตน) เป็นข้าหลวงประจำบริวเณ (พ.ศ. 2446 ถึง พ.ศ. 2449) คือ
5.1 เมืองนครพนม มี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอ
อาษามารถ (ปัจจุบันยุบเป็นตำบลอาจสามารถ ขึ้นอำเภอเมืองนครพนม) อำเภออากาศอำนวย อำเภอกุสุมาลย์มณฑล อำเภอโพธิไพศาล (ปัจจุบันเป็นตำบล อยู่ใน อ.กุสุมาลย์) สามอำเภอหลังนี้ปัจจุบันขึ้นกับจัวหวัดสกลนคร
5.2 เมืองไชยบุรี มีอำเภอเดียว ปัจจุบันเป็นตำบลไชยบุรี ขึ้นอำเภอท่าอุเทน
5.3 เมืองท่าอุเทน มี 2 อำเภอ คือ อำเภอท่าอุเทน และอำเภอรามราช (ปัจจุบัน
ยุบเป็นตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน)
5.4 เมืองมุกดาหาร มี 2 อำเภอคือ อำเภอเมืองมุกดาหาร และอำเภอหนองสูง
(รวมท้องที่ อ.คำชะอี และ อำเภอนาแก จ.นครพนมด้วย) ส่วนเมืองพาลุกากรภูมิ ยุบเป็นหมู่บ้านพาลุกา อำเภอหว้านใหญ่ในปัจจุบัน)

ทำเนียบข้าราชการเมืองมุกดาหาร

ระหว่าง พ.ศ. 2442 ถึง พ.ศ. 2449 (ก่อนบุบเป็นอำเภอมุกดาหาร ขึ้น จังหวัดนครพนม)
จางวางที่ปรึกษาราชการ – พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จันทรสาขา)
ข้าหลวงประจำเมือง – พระอนุชาติวุฒาธิคุณ (แพ ณ หนองคาย)
ผู้ว่าราชการเมือง – พระจันทรเทพสุริยวงษา (แสง จันทรสาขา)
ปลัดเมือง – พระดำรงมุกดาหาร (เสริม)
ยกบัตรเมือง – พระวิจารณ์อธิกรณ์ (แป้น)
ผู้ช่วยราชการเมือง – หลวงธนากาญจนกิจ (แสง)
นายอำเภอเมืองมุกดาหาร – พระวรบุตรภักดี (อ่าง ศรีประเสริฐ) รักษาการ
นายอำเภอหนองสูง – หลวงอำนาจนรงค์ (บุศร์) รักษาการ
พ.ศ. 2450 มณฑลอุกรได้ปรับปรุงการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยให้ยุบเลิก “บริเวณ” ลงเป็น “เมือง” ทั้งหมดคงมีเพียงมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้านบริเวณหมากแข้ง ยุบเป็นเมืองอุดรธานี บริเวณพาชี ยุบเป็นเมืองขอนแก่น บริเวณสกลนคร ยุบเป็นเมืองสกลนคร บริเวณน้ำเหือง ยุบเป็นเมืองเลย บริเวณะธาตุพนม ยุบเป็นเมืองนครพนม แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ เรณูนคร อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอเมืองหนองสูง (ย้ายที่ตั้งอำเภอไปตั้งที่บ้านนาแก ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอนาแกเมื่อ พ.ศ. 2460) อำเภอเหล่านี้ยังใช้คำว่า “อำเภอเมือง” อยู่เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าเคยเป็นเมืองมาก่อนรายนามนายอำเภอมุกดาหาร
(1) หลวงทรงสราวุธ (เจิม วิเศษรัตน) เป็นนายอำเภอมุกดาหารคนแรกตั้งแต่ พ.ศ.
2450 ต่อมาได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระบริหารราชอาณาเขต” จนถึง พ.ศ. 2458 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองหนองคายแล้วย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสมุทรศักดารักษ์” (ชื่อถนนสายหนึ่งในเขตเทศบางเมืองมุกดาหาร) แล้วย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (พ.ศ. 24699 ถึง พ.ศ. 2472)
(2) หลวงผดุงนิคมเขต (ยอแซ นาคทัต หรือ เยี่ยม เอกสิทธิ์) ดำรงตำแหน่งนาย
อำเภอมุกดาหารระหว่าง พ.ศ. 2458 ถึง พ.ศ. 2466 แล้วย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระปทุมเทวาภิบาล” ครั้งสุดท้ายดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาดไทย (กรมการปกครอง) “ผดุงนิคมเขต” เป็นชื่อถนนสายหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร
(3) หวงวิวิธสุรการ (ถวิล เจียรมานพ) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอมุกดาหารระหว่าง
พ.ศ. 2466 ถึง พ.ศ. 2476 แล้วย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดเลย และอุดรธานี ตำแหน่งครั้งสุดท้ายเป็นรองอธิบดีกรมมหาดไทย (กรมการปกครอง) “วิวิธสุรการ” เป็นชื่อถนนสายหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร
(4) หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตรย์) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอระหว่าง พ.ศ. 2476
ถึง พ.ศ. 2482 แล้วย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุทธยาและจังหวัดมหาสารคาม “บริหารชนบท” เป็นชื่อถนนสายหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร
(5) ร.ท.ขุนวรกิจโกศล (ถวิล ระวัภัย) พ.ศ. 2483
(6) พ.ต.หลวงยุทธกาจกำธร (นาค สังขกฤษ) พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2485
(7) นายสุพัฒน์ วงศ์วัฒนา พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2486
(8) นายยุทธ หนุนภักดี พ.ศ. 2487 ถึง พ.ศ. 2489
(9) นายเกษม จียพันธ์ พ.ศ. 2490
(10) นายพ่วง สุวรรณรัตน์ พ.ศ. 2490 ถึง พ.ศ. 2491
(11) นายพินิจ โพธิพันธ์ พ.ศ. 2491 ถึง พ.ศ. 2492
(12) นายสง่า ไทยยานนท์ พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2495
(13) นายชูสง่า ฤทธิประศาสตร พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2497
(14) นายเจริญ ปานทอง พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2500
(15) นายสิทธิ ณ นครพนม พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2503
(16) นายวิเชียร เวชสวรรค์ พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507
(17) นายเริ่ม สวัสดิวงษ์ไชย พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2507
(18) นายปฐม สุทธิวาทนฤพุฒ พ.ศ. 2508
(19) นายมนตรี ตระหง่าน พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 5210
(20) นายสืบ รอดประเสริฐ พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2512
(21) นายประกิต อุตตโมต พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2514
(22) นายสมภาพ ศรีวรขาน พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2517
(23) พ.ต.ปรีดา นิสสัยเจริญ พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2521
(24) ร.ต.สนั่น ธารีรัตน์ พ.ศ. 2522
(25) ร.ต.สุนัย ณ อุบล พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523
(26) ร.ต.นิรันดร์ ยิ่งอรุณธรรม พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2526

เมืองมุกดาหารเป็นเมืองอยู่ 137 ปี จึงได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอเมืองมุกดาหาร ขึ้นกับจังหวัดนครพนม อยู่ถึง 75 ปี จึงได้รับการแยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 (จากราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2525) ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

(1) นายจำลอง ราษฎรประเสริฐ 27 กันยายน 2525 ถึง 30 กันยายน 2528
(2) นายถนอม ชาญนุวงศ์ 1 ตุลาคม 2531 ถึง 30 กันยายน 2534
(3) ร.ต.ไมตรี ไนยกุล 1 ตุลาคม 2534 ถึง 30 กันยายน 2535
(4) ร.ท.วินัย แจ้งกลีบ 1 ตุลาคม 2535 ถึง 30 กันยายน 2537
(5) นายสาโรช คัชมาตย์ 1 ตุลาคม 2537 ถึง
(6) นายสมบูรณ์ สุขสำราญ
(7) นายประเสริฐ โยฐีพิทักษ์
(8) นายนิรันดร์ วุฒิเวศย์

รวมเผ่าไทยมุกดาหาร
จังหวัดมุกดาหารแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ว่าในอดีตเมืองมุกดาหารเป็นเมืองชายแดนปลายพระราชอาณาเขต เคยถวายต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นเครื่องราชบรรณาการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ถือเสมือนหนึ่งเป็นเมืองประเทศราช ซึ่งเคยมีสองเมืองเท่านั้นในภาคอีสาน (เมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร) เมืองมุกดาหารในอดีตเมื่อร้อยปีก่อน (ก่อน ร.ศ. 112 หรือก่อน พ.ศ. 2436) เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง จนจรดแดนญวน (รวมแขวสุวรรณเขตของลาวปัจจุบัน) ต่อมาได้สูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไปถึงสามส่วนเมื่อ ร.ศ. 112 คงเหลือแต่ดินแดนเพียงหนึ่งส่วนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงคือ ท้องที่จังหวัดมุกดาหารในปัจจุบันการรวบรวมเรื่อง “รวมเผ่าไทยมุกดาหาร” ผู้เขียนมีเจตนาจะย้อนอดีตให้ทราบถึงกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group) และถิ่นฐานดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ก่อนจะมารวมกันเป็นจังหวัดมุกดาหารในปัจจุบัน มิใช่จะมีเจตนาแบ่งแยกในเรื่องเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เหล่านี้ ซึ่งทุกกลุ่มทุกชาติพันธุ์ถือว่ามีเชื้อชาติไทยและสัญชาติไทยด้วยกันทุกคน
1. ชาวไทยอีสาน
เป็นชาวไทยกลุ่มใหญ่ในจังหวัดมุกดาหารเช่นเดียวกับชาวไทยอีสานในจังหวัดอื่น ๆ ใน
ภาคอีสานอีกหลายจังหวัด ชาวไทยอีสาน ได้สืบสานเชื้อสายต่อเนื่องกันมานานนับหลายปี นับตั้งแต่ขุนบรมปฐมวงศ์ ของเผ่าไทยต่อกันมา ตั้งแต่อาณาจักรน่านเจ้าและอาณาจักรล้านช้าง จนกระทั่งไปสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวไทยอีสานได้อพยพมาตามลำน้ำโขง แล้วแผ่ขยาย ออกไปตามลำน้ำชี ลำน้ำมูล และลำน้ำอื่นๆ ซึ่งแยกออกจากแม่น้ำโขง จนตั้งขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี สุวรรณภูมิ ยโสธร ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ฯลฯ เมืองมุกดาหารได้ตั้งขึ้นริมฝั่งโขงเมื่อ พ.ศ. 2313 ในสมัยกรุงธนบุรี
2. ชาวผู้ไทย
คำว่า “ผู้ไทย” บางท่านมักเขียนว่า “ภูไท” แต่ในพจนานุกรรม ฉบับราชบัณฑิตสถานเขียนว่า “ผู้ไทย” ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวผู้ไทย เดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไทยและ แคว้นสิบสองปันนา (ดินแดนส่วนเหนือของลาว และเวียดนามซึ่งติดต่อกันส่วนใต้ของประเทศจีน) ราชอาณาจักรไทยได้สูญเสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทยให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ ร.ศ. 107 (พ.ศ. 2431) เดิมชาวผู้ไทยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
1. ผู้ไทยดำ มีอยู่ 8 เมือง นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ และสีคราม
2. ผู้ไทยขาว มีอยู่ 4 เมือง อยู่ใกล้ชิดติดกับชายแดนจีนจึงนิยมแต่งด้วยเสื้อผ้าสีขาว
รวมผู้ไทยดำและผู้ไทยขาวมี 12 เมือง จึงเรียกดินแดนส่วนนี้ว่า “สิบสองจุไทย” หรือ
“สิบสองเจ้าไทย” ต่อมาในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐธิราชที่ 2 (เจ้าองค์หล่อ) แห่งนครเวียงจันทร์ได้มีหัวหน้าชาวผู้ไทยผู้หนึ่งมีนามว่า “พระศรีวรราช” ได้มีความดีความชอบได้ช่วยปราบกบฎในนครเวียงจันทน์จนสงบราบคาบ พระมหากษัตริย์จึงได้พระราชทานพระราชธิดาชื่อ “เจ้านางช่อฟ้า” ให้เป็นภรรยา ในกาลต่อมาจึงได้แต่ตั้งให้บุตรอันเกิดจาก พระศรีวรราชหัวหน้าผู้ไทยและเจ้านางช่อฟ้ารวม 4 คนแยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองชาวผู้ไทย คือ เมืองสบแอด เมืองเชียงค้อ เมืองวังและเมืองตะโปน (เซโปน) สำหรับเมืองวังเมืองตะโปนเป็นเมืองของชาวผู้ไทยจากเมืองวังและเมืองตะโปน ได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองต่างๆ ขึ้นอีก คือ เมืองพิน เมืองนอก เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองเชียงฮ่ม เมืองผาบัง เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ ของเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ “พระราชธรรมเนียมลาว พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479 ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของรัชกาลที่ 4 และเจ้าจอมมารดาดวงคำ ซึ่งเจ้าจอมมารดาดวงคำก็เป็นพระราชนัดดาของเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์) เมืองวัง เมืองตะโปน เป็นถิ่นกำเนินของชาวผู้ไทยในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ก่อนที่จะอพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสานปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทร์เป็นกฎต่อกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2369 ต่อมาเมื่อกองทัพไทย อพยพข้ามโขงไปปราบปราม จนสงบราบคาบแล้ว ทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เมืองตะโปน จากชายแดนปลายพระราชอาณาเขต ซึ่งใกล้ชิดติดกับแดนญวนให้ข้ามโขงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน) ให้มากที่สุดเพื่อความปลดภัยมิให้เป็นกำลังแก่นครเวียงจันทน์ และฝ่ายญวนอีกต่อไป จึงได้กวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยูในแขวงสุวรรณเขตของลาว ปัจจุบันซึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทย อยู่ในขณะนั้น ในข้ามโขงมาตั้งแต่บ้างตั้งบ้านตั้งเมืองทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ในเขตเมืองกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร คือ
(1) เมืองเรณูนคร ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมาจากเมืองวัง มีนายไพร่รวม 2,648 คน ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสายเป็น “พระแก้วโกมล” เจ้าเมืองเรณูนครคนแรก ยกบ้านบุ่งหวายขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นเมืองนครพนม คือท้องที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ. 1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(2) เมืองพรรณานิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองวัง จำนวน สองพันกว่าคนไปตั้งอยู่ที่บ้านผ้าขาวพันนา ตั้งขึ้นเป็นเมืองพรรณานิคมขึ้นกับเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวโฮงกลางเป็น “พระเสนาณรงค์” เจ้าเมืองคนแรก ต่อมาได้ย้ายเมืองพรรณานิคมไปตั้งที่บ้านพร้าว คือ ท้องที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(3) เมืองกุฉินารายณ์ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองวังจำนวน 3,443 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านกุดสิม ตั้งขึ้นเป็นเมือง “กุฉินารายณ์” ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ราชวงษ์เมืองวัง เป็น “พระธิเบศวงษา” เจ้าเมืองกุฉินารายณ์ คือท้องที่อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ (จากเอกสาร ร. 3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(4) เมืองภูแล่นช้าง ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองวัง จำนวน 3,023 คน ไปตั้งอยู่บ้านภูแล่นช้าง ตั้งขึ้นเป็นภูแล่นช้างขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หมื่นเดชอุดม เป็น “พระพิชัย อุดมเดช” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือ ท้องอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(5) เมืองหนองสูง ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองวังและเมืองคำอ้อคำเขียว (อยู่ในแขวงสุวรรณเขต ดินแดนลาว) จำนวน 1,658 คน ตั้งอยู่บ้านหนองสูง และบ้านคำชะอี ในดงบังอี (คำสะระอีคือหนองน้ำดงบังอี่ ต่อมากลายเป็น คำชะอี) ตั้งเป็นเมืองหนองสูง ขึ้นเมืองมุกดาหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสีหนาม เป็น “พระไกรสรราช” เจ้าเมืองคนแรก เมืองหนองสูง ในอดีตคือท้องที่ อ.คำชะอี (ตั้งแต่ห้วยทราย) อำเภอหนองสูง และท้องที่อำเภอนาแก ของจังหวัดนครพนมด้วย (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(6) เมืองเสนางคนิคม ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพ
มาจากเมืองตะโปน (เซโปน) ซึ่งปัจจุบันอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแขวงสุวรรณเขต ติดชายแดนเวียดนาม อพยพมา 948 คน ไปตั้งอยู่ที่บ้านส่องนาง ยกขึ้นเป็นเสนางคนิคม ขึ้นเมืองอุบลราชธานี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวจันทร์จากเมืองตะโปน เป็น “พระศรีสินธุสงคราม” เจ้าเมืองคนแรกต่อมาได้ย้ายไปตั้งเมืองที่บ้านห้วยปลาแดก และเมื่อยุบเมืองลงเป็นอำเภอเสนางคนิคมย้ายไปตั้งอำเภอหนองทับม้าคือ ท้องที่อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(7) เมืองคำเขื่อนแก้ว ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองวัง จำนวน 1,317 คน ไปตั้งอยู่บ้านคำเขื่อนแก้วเขตเมืองเขมราฐ ตั้งขึ้นเป็นเมืองคำเขื่อนแก้ว ขึ้น เมืองเขมราฐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวสีหนาท เป็น “พระรามณรงค์” เจ้าเมืองคนแรก เมื่อยุบเมืองคำเขื่องแก้วได้เอานามเมืองคำเขื่อนแก้วไปตั้งเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่ตำบลลุมพุก คือ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน ส่วนเมื่องคำเขื่อนแก้วเดิมที่เป็นชาวผู้ไทย ปัจจุบันเป็นตำบลคำเขื่อนแก้วอยู่ในท้องที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญในปัจจุบัน (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 เลขที่ 58 หอสมุดแห่งชาติ)
(8) เมืองวาริชภูมิ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2420 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมืองกะปอง ซึ่งอยู่ในห้วยกะปองแยกจากเซบั้งไฟไหลลงสู่แม่น้ำโขงในแขวงคำม่วนฝั่งลาว จึงมักนิยมเรียกผู้ไทยเมืองวาริชภูมิว่า “ผู้ไทยกระป๋อง” ผู้ไทยเมืองย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่บ้านปลาเปล้า แขวงเมืองหนองหาร จึงตั้งบ้านปลาเปล้าขึ้นเป็น “เมืองวาริชภูมิ” ขึ้น เมืองหนองหาร ต่อมาได้ย้ายเมืองไปตั้งที่บ้านนาหอยเขตเมืองสกลนคร จึงได้ยกเมืองวาริชภูมิไปขึ้นเมืองสกลนครคือ ท้องที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้ ท้าวพรหมสุวรรณ์ เป็น “พระสุรินทร์บริรักษ์” (จากเอกสาร ร.5 เลม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุสมุดแห่งชาติ)
(9) เมืองจำปาชนบท ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2421 เป็นชาวผู้ไทยที่อพยพมา
จากเมือง กะปอง ตั้งอยู่ที่บ้านจำปานำโพนทอง ตั้งขึ้นเป็นเมืองจำปาชนบท ขึ้นเมืองสกลนคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวแก้วเมืองกะปอง เป็น “พระบำรุงนิคมเขต” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร (จากเอกสาร ร.5 มท. เล่ม 15 จ.ศ.1240 หอจดหมายเหตุ)
จังหวัดมุกดาหาร แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 52 ตำบล 476 หมู่บ้าน มี
ประชากร 303,818 คน ปรากฎว่ามีหมู่บ้านชาวผู้ไทยถึงร้อยกว่าหมู่บ้าน โดยมีผู้ไทยกระจัดกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ คือ
(1) อำเภอเมืองมุกดาหาร มีชาวผู้ไทยอยู่บ้านดงมอญ บ้านห้วยยาง บ้านเหล่าแขม
บ้านสงเปือย บ้านจอมมณี บ้านนาโสก บ้านเหล่าปาแปด บ้างสงเปือย บ้านนาหัวภู บ้านหนองน้ำเต้า บ้านนาโด่
(2) อำเภอคำชะอี มีผู้ไทยที่บ้านคำชะอี บ้านห้วยลำโมง บ้านนากลาง บ้านกกไฮ บ้าน
นาปุ่น บ้านแก้งช้งเนียม บ้านคำบก บ้านบาก บ้านหนองกะปาด บ้านห้วยทราบ บ้านโพนสว่าง
(3) อำเภอหนองสูง มีชาวผู้ไทยทุกหมู่บ้าน ในเขตอำเภอหนองสูง คือ บ้านหนองสูง
บ้านโนนยาง บ้านบุ่ง บ้านนานองแคน บ้านวังนอง บ้านนาคันแท บ้านเป้า บ้านภู บ้านคำพี้ บ้านปะแสด บ้านแวง บ้านโคกกลาง บ้านโคกหินกอง บ้านโคกสุริโย บ้านหนองนกเขียน บ้านหลุบปึ้ง
(4) อำเภอดงหลวง มีชาวผู้ไทยที่บ้านก้านเหลืองดง บ้านหนองแคน บ้านหนองบัว
บ้านหนองหนาว บ้านชะโนด บ้านกกตูม บ้านกกกุง บ้านขัวสูง บ้านแก่งนาง บ้านกกกอก บ้านนากอก บ้านหนองแวง
(5) อำเภอนิคมคำสร้อย มีชาวผู้ไทยที่ต่อ บ้านต่อเขต บ้านกกแดง บ้านนากอก บ้าน
หนองแวง
(6) อำเภอดอนตาล มีชาวผู้ไทยที่บ้านโคก บ้านดง บ้านหนองหล่ม บ้านคำดู่
เอกลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของชาวผู้ไทยคือ เหล้าอุ (เหล้าไหทำจากข้าวเปลือก มีไม้ซาง
ดูด) จนอาจกล่าวได้ว่าชาวผู้ไทยอยู่ที่ใดต้องมีเหล้าอุอยู่ที่นั้น
3. ไทยข่า (บรู)
ไทยข่า เป็นชาวไทยอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในจังหวัดมุกดาหาร ชาวข่ามีถิ่นกำเนินตั้งเดิม
อยู่ในแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวัน และแขวงอัตปือของดินแดนลาวปัจจุบัน ซึ่งเมื่อร้อยปีก่อน (ก่อน พ.ศ. 2436) ดินแดนส่วนนี้เคยเป็นเขตของพระราชอาณาจักรไทยชาวข่าอพยพมาอยู่ในท้องที่จังหวัดมุกดาหารในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นส่วนมากนักมานุษยวิทยาถือว่าเป็นชนเผ่าดั้งเดิมในแถบมกลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอาจจะสืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณ ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักเจนละ ต่อมาเป็นอาณาจักรขอมและอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ซึ่งขอมเคยมีอิทธิพลครอบคลุมขึ้นมาถึงแล้วเสื่อมอำนาจลง พวกข่าอยู่ในตระกูลเดียวกับขอมและมอญเขมร ภาษาของชาวข่าเป็นภาษาในตระกู “ออสโตรอาเซียติค” ในสาขามอญเขมร
ชาวข่ายังแบ่งแยกออกเป็นหลายพวกและหลายเผ่าพันธุ์อีก เช่น ข่าย่าเหิน ข่าบริเวน ข่าสุ ข่าตะโอย ข่าเจ็ง ข่าสอก ข่าสปวน ฯลฯ เป็นต้น ชาวข่ามิได้เรียกตัวเองว่า “ข่า” แต่เรียกตัวเองว่า “บรู” คำว่า “ข่า” จึงเป็นชื่อที่ชาวอีสานใช้เรียกพวกบรูคำว่าบรูแปลว่าภูเขา คำว่า “ข่า” อาจจะมาจากคำว่าข้าทาสซึ่งชาวอีสานมักเรียกพวกข้าทาสว่า “ขี้ข้อยหรือ ขี้ข่า” เพราะว่าก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวไทยในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง นิยมจับพวกบรูหรือพวกข่ามาเป็นข้าทาสรับใช้ ส่วนในประเทศเวียดนามเรียพกพวกบรูหรือข่าว่า พวก “มอย” (Moi)
พวกข่าในสมัยโบราณเคยมีประวัติว่ามีศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สูงส่งมาก่อน เช่นมีความรอบรู้ในการประดิษฐ์ของใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การปั้นไฟข่า การหล่อโลหะ (กลองโหระทึก) ตอลดทั้งรู้จักนำหินมากรอนฟันให้ราบเรียบสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวข่าก่อนเครื่องมือทันตแพทย์สมัยนี้เสียอีก ชาวข่าดั้งเดิม มักมีผิวกายดำคล้ำ ทั้งหญิงและชาย ผู้ชายชอบแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าเตี่ยว ตัดผมม้ายาวประบ่า และนิยมใช้ผ้าแดงผูกคล้องคอหรือโพกศรีษะเป็นเอกลักษณ์ของชาวข่าว ตามประวัติมีผู้เล่าว่า เนื่องจากบรรพบุรุรษของชาวข่าเคยใช้ผ้าขาวชุบเลือดจนกลายเป็นสีแดงแนบติดกายไว้ก่อนสิ้นชีวิตในการต่อสู้แย่งชิงดินแดนถิ่นที่อยู่กับชาวผู้ไทยในอดีตในดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ส่วนผู้หญิง นิยมนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้าและเปลือยอกท่อนบน ผู้ชายชาวข่าเคยมีประวัติว่าเป็นนักรพที่ห้าวหาญ โดยมีหน้าไม้พร้อมด้วยลูกที่อาบยาพิษหน่องเป็นอาวุธประจำกาย แม้ในสมัยที่ดินแดนลาวยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ ทหารข่างของฝรั่งเศสบางหน่วย ก็ยังนิยมใช้หน้าไม้เป็นอาวุธประจำกายอยู่ ในปัจจุบันแขวงสุวรรณเขต แขวงสาละวันและแขวงอัตปือ ของลาว ก็ยังมีชาวข่ารักรัชการในตำแหน่งสู ๆ อยูไม่น้อยในท้องที่จังหวัดมุกดาหารมีชาวไทยเชื้อสายข่า อยู่ที่ตำบลบ้านโคก ที่หมู่บ้านพังคอง ในตำบลคำป่าหลายที่หมู่บ้านนาเสือหลายในท้องที่อำเภอเมืองมุกดาหาร ในท้องที่อำเภอดอนตาลมีชาวไทยเชื้อสสายข่าอยู่ที่ตำบลบ้านบาก ในท้องที่อำเภอดงหลวงมีชาวไทยเชื้อสายข่าอยู่ที่ตำบลกกตูม ในหมู่บ้านส่านแว้ บ้านคำผักกูด บ้านโคกกุง บ้านปากช่อง บ้านหินกอง ซึ่งอยุ่ในเขตภูพานต่อเขตกับจัวหวัดสกลนครและจังหวัดกาฬสินธุ์ ในสมัยโบราณมีหมู่บ้านชาวข่าในเขตเมืองมุกดาหารบนเทอกเขาภูพานว่า “บ้านคำผักแพว แปวป่องฟ้า พาเซโต โซไม่แก่น แท่นหินลับ ซับห้วยแข้ แง้ห้อยมะบาน ด่านสามใหัว ขัวน้ำบ่อบุ้น ยางสามต้นอันสาขุย…”

ปัจจุบันนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ที่อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ได้อพยพชาวไทยข่า (บรู) จากเขตภูพานซึ่งเป็นรอยต่อสี่จัวหวัดคือ กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร รวม 171 ครอบครัว ไปอยู่ที่หมู่บ้านร่มเกล้าของนิคมสร้างตนเองคำสร้อย โดยได้รับความร่วมมือจากกองทัพภาคที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 และได้จัดสรรที่ดินให้ทำกินและปลูกบ้านเรือนให้เป็นหมู่บ้านชาวไทยข่าตลอดทั้งได้ช่วยเหลือให้ราษฎรเหล่านี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้และกำลังพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเท่าเทียมกับหมู่บ้านอื่น
จารีตประเพณีของชาวข่า
การสู่ขอในการแต่งงานฝ่ายชายต้องมีล่าม 4 คน (ชาย 2 หญิง 2) เทียน 4 เล่ม และเงินหนัก 5 บาท การแต่งงานต้องมีเหล้าอุ (เหล้าไห) 2 ไห ไก่ 2 ตัว ไข่ 8 ฟอง เงินหนัก 2 บาท หมู 1 ตัว และกำไลเงิน 1 คู่ การกระทำผิดจารีตประเพณี (ผิดผี) เช่นห้ามลูกสะใภ้เข้าห้องนอนก่อนผัว ห้ามลูกสะใภ้รับของจากพ่อผัว ห้ามลูกเขยเข้าออกภายในห้องจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งหรือลูกเขยต้องใช้เงิน 5 บาท หมู 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ บุหรี่พื้นบ้านมวนด้วยใบตอง 2 มวน หมากพลู 2 คำ นำไปคาระวะต่อผีของบรรพบุรุษที่มุมบ้านด้วยตวันออกหรือที่เตาไฟ หากเป็นลูกสะใภ้ก็ต้องใช้ผ้าข้าวม้า 1 ผืน ผ้าซิ่น 1 ผืน ดอกไม้ธูปเทียน 2 คู่ หมากพลู 2 คำบุหรี่ใบตอง 2 มวน ไปคาระวะเพื่อขอขมาต่อผี (วิญญาณ) ของบรรพบุรุษเช่นเดียวกัน
ภาษาของไทยข่า (บรู)
มวย – หนึ่ง บราน – สอง
ไปรน์ – สาม โปน – สี่
เซิง – ห้า ตะเพ็ด – หก
ตะปรูล – เจ็ด ตะกลอ – แปด
ตะเก๊ะ – เก้า มันจิต – สิบ
ตะรัม – ตอนเช้า สิไงย – กลางวัน
สิเดา – กลางคืน งอยเดอะ – ดื่มน้ำ
จาอาว๊ะ – กินข้าว ยกฮืด – สูบบุหรี่
ระกอง – ผู้ชาย ระปัย – ผู้หญิง
4. ไทยกะโซ่
กลุ่มชาวไทยกะโซ่ บางท้องที่ก้อเรียกว่าพวก “โซ่” แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานเขียนว่า “กะโซ่” ซึ่งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกเดียวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี สำนักลาโซ่ง คือพวกไทยดำที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทยในสมัยกรุงธนบุรี ส่วน “กะโซ่” มาจากคำว่า “ข่าโซ่” ซึ่งถือว่าเป็นข่าพวกหนึ่งอยู่ในตระกูลมอญเขมรกะโซ่ตามลักษณะและชาติพันธุ์ถือว่าอยู่ในกลุ่มมองโกลอยด์ กะโซ่มีภาษาและขนบธรรเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกข่าทั่วไป แต่ภาษาของกะโซ่ก็ถือว่าอยู่ในตระกูลไทย “ออสโตรอาเซียติค” สาขามอญเขมรหรือกะตู (Katuic) ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้ในภาษาตระกูลไทยถิ่นฐานดั้งเดิมของพวกกะโซ่เดิมอยู่ที่เมืองมหาชัยในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขตดินแดนลาวปัจจุบัน สำหรับเมืองมหาชัเดิมชาวบ้านเรียกว่า “เมืองภูวา-นากะแด้ง” คือเมืองภูวดลฯ และบ้านนากะแด้ง เพราะว่าในสมัยที่ยังขึ้นกับราชอาณาจักรไทย (ก่อน พ.ศ. 2436) เรียกวาเมืองภูวดสอางค์ เคยขึ้นกับเมืองสกลนครแล้วโอนมาขึ้นกับเมืองนครพนมในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวกะโซ่อพยพมาอยู่ในเขตเมืองสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนชาวกะโซ่ซึ่งอพยพมาจากแขงอัดปือ ไปอยู่ในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ เรียกว่าพวก “ส่วน” หรือ “กุย” พูดภาษาเดียวกับพวกกะโซ่
(1) เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียมฮ่ม (ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต
ติดชายแดนญวน) ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช่ขึ้นเมืองนครพนมเมื่อ พ.ศ. 2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวบัวจากเมืองเชียงฮ่ม เป็น “พระอุทัยประเทศ” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นหมู่ชาวไทยกะโซ่
(2) เมืองกุสุมาลย์มณฑล เป็นชาวกะโซ่ที่อพยพมาจากเมืองมหาชัยในแขวงคำม่วน
อพยพข้ามโขงมาอยู่ที่บ้านกุดสมารตั้งขึ้นเป็นเมืองกุสุมาลย์มณฑล ขึ้นเมืองสกลนครใน พ.ศ. 2387 ทรงพระกระรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เพี้ยเมืองสูงหัวหน้าชาวกะโซ่ เป็น “พระอารักญอาษา” เจ้าเมืองคนแรก ปัจจุบันคือท้อที่อำเภอกุสุมาลยย์ จังหวัดสกลนครนอกจากนี้ยังมีชาวไทยกะโซ่อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ซึ่งมีเขตติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์อีกหลายหมู่บ้าน เช่น ที่ตำบลโคกสูง และที่บ้านวังตามัวในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม ในจัวหวัดมุกดาหารมีชาวไทยซ่อยู่ในท้องที่อำเภอดงหลวงเป็นส่วนมากซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2359 หัวหน้าชาวไทยกะโซ่ดงหลวง ต่อมาได้เป็นกำนันคนแรกของตำบลดงหลวงมีนามบรรดาศักดิ์ว่า “หลวงวาโนไพรพฤกษ์” ชาวกะโซ่ในอำเภอดงหลวงส่วนมากใช้นามสกุลเดียวกันหมดคือ “วงศ์กระโซ่”ศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยกะโซ่ซึ่งยังรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื้อชาติที่เด่นชัดก็คือ “โซ่ถั่งบั้ง” หรือภาษากะโซ่เรียกว่า “สะลา” เป็นพิธีกรรมในการบวงสรวงวิญยาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขัวญรักษาคนเจ็บป่วย กับพิธีกรรม “ซางกระมูด” ในงานศพ
(1) พิธีกรรม “โซ่ถั่งบั้ง” เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ คำว่า “โซ่” หมายถึง พวก
กะโซ่ คำว่า “ถั่ง” หมายถึง กระทุ้งหรือกระแทก คำว่า “บั้ง” หมายถึง บ้องกระบอกไม้ไผ่ โซ่ถั่งบั้ง ก็คือพิธีกรรมใช้กระบอกไม่ไผ่ยาวประมาณ 3 ปล้อง กระทุ้งดินเป็นจังหวะแล้วมีการร่ายรำและร้องไปตามจังหวะในพิธีกรรมของชาวกะโซ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อครั้งเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อเสด็จถึงเมืองกุสุมาลย์มณฑล (อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร) เมื่อ พ.ศ 2449 ได้ทรงบันทึกการแสดงพิธีกรรมโซ่ถั่งบั้ง หรือสลาของชาวกะโซ่เมืองกุสุมาลย์มณฑลไว้ว่า”สลามีหม้อดินตั้งกลางแล้วมีคนต้นบทคนหนึ่ง คนสะพายหน้าไม้และลูกสำหรับยิง
คนหนึ่ง คนตีฆ้องเรียกว่าพะเนาะคนหนึ่งคนถือไม้ไผ่สามปล้องสำหรับกระทุ้งดินเป็นจัวหวะสองคน คนถือชามสองมือสำหรับติดเทียนรำคนหนึ่ง คนถือตระแกรงขาดสองมือสำหรับรำคนหนึ่ง คนถือสิ่วหักสำหรับเคาะจังหวะคนหนึ่ง รวม 8 คน เดินร้องรำเป็นวงเวียนไปมา พอได้พักหนึ่งก็ดื่มน้ำอุและรำร้องต่อไป…”
(2) พิธีซางกระมูด เป็นพิธีกรรมของชาวกะโซ่ก่อนนำศพลงจากเรือน คำว่า “ซาง”
หมายถึง การกระทำหรือการจัดระเบียบ “กระมูด” แปลว่าผี ซางกระมูด หมายถึง การจัดพิธีเกี่ยวกับคนตาย ชาวกะโซ่ถือว่าคนตายไปแล้วจะเป็นผีดิบ จึงต้องกระทำพิธีกรรมเสียก่อนเพื่อให้ผีดิบและวิญญาณของผู้ตายได้สงบสุข มิฉะนั้นอาจทำให้ญาติพี่น้องของผู้ตายเจ็บป่วยขึ้นได้อุปกรณ์ในพิธีซางกระมูดประกอบด้วย ขันโตก (ขันกระหย่องสานด้วยไม้ไผ่) สองใบเป็นภาชนะใส่อุประกรณ์ต่างๆ มีไม้ไผ่สานเป็นรูปจักจั่น 4 ตัว (แทนวิญญาณของผู้ตาย) นอกจากนั้นยังมีพานสำหรับยกครู (คาย) ประกอบด้วยขันธ์ห้า คือ เทียน 5 คู่ ดอกไม้สีขาวเช่นดอกลั่นทม 5 คู่ เหรียญเงิน 12 บาท ไข่ไก่ดิบหนึ่งฟอง ดาบโบราณหนึ่งเล่ม ขันหมากหนึ่งขันมีดอกไม้อยู่ในขันหมาก 1 คู่ เทียน 1 คู่ พร้อมด้วยบุหรี่และเทียนสำหรับจุดทำพิธีอีกหนึ่งเล่ม ล่ามหรือหมอผีจะเป็นกระทำพิธีและสอบถามวิญญาณของผู้ตาย เมื่อทราบความต้องการของวิญญาณของผู้ตายแล้วญาติก็จะจัดสิ่งของไว้บวงสรวงดวงวิญญาณ
(3) พิธีเหยา ในการรักษาความเจ็บป่วยหรือเรียกขวัญคล้ายๆ กับพิธีกรรมของชาว
อีสานทั่วไปเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยหรือการเรียกขวัญ โดยหมอผีจะทำหน้าที่ล่ามสอบถาววิญญาณของบรรพบุรุษว่าได้กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดล่วงเกินในขนบธรรมเนียมประเพณีไปบ้าง
ชาวไทยกะโซ่มีผิวกายดำคล้ำเช่นเดียวกับพวกข่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงกล่าวถึงการแต่งกายของชาวกะโซ่ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่างๆ ภาค 4 เมื่อเสด็จภาคอีสาน เมื่อ พ.ศ. 2449 ไว้ว่า… “ผู้หญิงไว้ผมสูงนุ่งซิ่นรวมเสื้อกระบอกย้อมครามห่มผ้าแถบ ผู้ชายแต่งกายอย่างคนเมืองแต่เดิมว่านุ่งผ้าเตี่ยวไว้ชายข้างหน้าข้างหนึ่ง…”
5. ชาวไทยกะเลิง
คำว่า “กะเลิง” มาจากคำว่า “ข่าเลิง” เป็นข่าพวกหนึ่งอยู่ในตระกูลมอญเขมร ข่า
กะโซ่ กะเลิงอยู่ในตระกูลเดียวกัน ภาษาพูดก็อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรอาเซียติคถิ่นกำเนินดั้งเดิมของชาวกะเลิงอยู่ในแขวงคำม่วนและแขวงสุวรรณเขตดินแดนลาวปัจจุบันอพยพเข้ามาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นส่วนใหญ่ในท้องที่จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหารผู้ชายกะเลิงโบราณนิยมสักรูปนกที่แก้มและปล่อยผมยาวประบ่า ส่วนผู้หญิงเกล้ามวยผม ปัจจุบันผู้ชายกะเลิงที่สักขาลายขึ้นมาถึงบั้นเอวยังมีหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ในท้องที่ตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และในอำเภอคำชะอีที่ตำบลบ้านซ่งบางหมู่บ้าน ตำบลเหล่าสร้างถ่อบางหมู่บ้านและที่บ้านโนนสัง บ้านนาหลวง บ้านภูฮี
ชาวกะเลิงมีผิวกายดำคล้ำ ผมหยิกเช่นเดียวกับพวกข่าและอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ของ
พวกมองโกลอยด์ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งขุนทั้งสามผู้เป็นใหญ่คือ ขุนเค๊ก ขุนคาน และปู่ลางเซินได้ขอร้องต่อพญาแถนซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองโลกตามความเชื่อถือของชาวอีสานของลากลับไปอยู่เมืองมนุษย์ โดยอ้างว่า… “ข้อยนี้อยู่เมื่อบนก็บ่แก่นแล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น…” พญาแถนจึงให้มาเกิดในเมืองมนุษย์ที่เมืองแถนหรือเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูซึ่งอยู่ในแคว้นสิสองจุไทย พร้อมกับได้ส่งความลงมาให้เกิดในเมืองแถนเพื่อใช้ทำไร่นาหาเลี้ยงชีพด้วย ต่อมาความได้ตาย ซากของความเกิดเป็นน้ำเต้าปุง ในน้ำเต้าปุงได้เกิดเป็นมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ เสียงของมนุษย์ในน้ำเต้าปุงร่ำร้องอยากออกมาสู่โลก ขุนทั้งสามจึงเอาเหล็กซี (เหล็กปลายแหลมเผาไฟ) เจาะน้ำเต้าปุงเพื่อให้มนุษย์ออมามนุษย์ชุดแรกที่ออกมาคือพวกข่ารวมถึงกะโซ่ และกะเลิง แต่เนื่องนับจากเหล็กซีที่เผาไฟเจาะรูน้ำเต้าปุงซึ่งเต็มไปด้วยเขม่าไฟสีดำ พวกข่า กะโซ่ และกะเลิง ที่ออกมาก่อนเผ่าอื่นๆ จึงมีผิวดำคล้ำมอมแมมต่อมาถึงลูกหลาน แต่ก็ยังมีมนุษย์เผ่าอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุงอีกมาก ขุนทั้งสามจึงใช้สิ่วเจาะน้ำเต้าปุงอีก 3 รู คนรุ่นหลังที่ออกมาคือไทยเลิง ไทยลอ ไทยกวาง ฯลฯ ซึ่งกลายเป็นบรรพบุรุษของลาว ไทยและญวน แล้วก็มีผู้หญิงออกมาอีกจนครบ 10 คน ทุกคนที่ออกมาจากน้ำเต้าปุงรุ่นหลังต่างก็รีบไปอาบน้ำชำระร่างกายในหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์จึงมีผิวพรรณขาว ยกเว้นพวกข่า กะโซ่ และกะเลิง ซึ่งอกมารุ่นแรกน้ำเต้าปุงที่ถูกเจาะรูด้วยเหล็กซีเผาไฟ จึงมีคราบเขม่าไฟ และกลัวความหนาวเย็นมิยอมไปอาบน้ำชำระร่างกายจึงมีผิวกายดำคล้ำแทบทุกคน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พวกข่า กะโซ่ และกะเลิง ก็ยังถือว่าพวกเขาเป็นพี่ใหญ่ (อ้ายกก) ของเผาอื่นๆ เพราะออกมาจากน้ำเต้าปุงก่อนพวกลาวและผู้ไทย ยอมีสติปัญญาเหนือกว่าเผ่าอื่นๆ อีกด้วยพวกข่าเคยคิดประดิษฐ์อักษรข่า หรือตัวหนังสือข่ามาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษแล้วจารึกตัวหนังสือข่าไว้ในหนังควาย แต่ว่าต่อมาพวกข่าได้ทำสงครามแย่งชิงดินแดนถิ่นที่อยู่กับพวกผู้ไทยมาตลอด จนแม่ทับนายกองของข่าสิ้นชีวิตไปหลายคน ในระหว่างสงครามได้ถูกสุนัขลักลอบเข้าไปในวังของกษัตริย์ข่า แล้วคาบเอาหนังควายที่จารึกอักษรข่าไปกินเป็นอาหารเสียสิ้น พวกข่า กะโซ่ และกะเลิงจึงไม่มีอักษรขีดเขียนเป็นภาษาของตนได้อีก
6. ไทยแสก
แสก คือ คนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนินดั้งเดิมอยู่ที่เมืองแสก เมืองแสกปัจจุบันเป็น
เมืองร้างอยู่บริเวณบ้านหนาด บ้านตองในแขวงคำม่วน ของดินแดนลาวและห่างจากชายแดนเวียตนามประมาณ 20 กิโลเมตร (จากเอกสาร ร.5 ม.2 12 ก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) เมืองแสกเคยอยู่ในเขตพระราชอาณาจักรไทยก่อน ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436) ภาษาแสกเป็นภาษาไทยลาวปนภาษาญวน เพราะอยู่ใกล้ชิดติดกับแดนญวนและมีขนบธรรมเนียมของญวนติดมาอยู่ด้วย เช่น พิธีตรุษแสกหรือตรุษญวน (กินเตดหรือกินเตนเคน) ในวันขึ้น 1 ค่ำของเดือน 3 ของทุกปี เพื่อบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าองค์มู (องค์มูเป็นชื่อภาษาญวน) ซึ่งชาวแสกถือว่าเป็นบรรพบุรุษ ที่ช่วยคุ้มครองรักษาชาวแสกให้ปราศจากภยันตรายทั้งปวง ชาวแสกเคยมีประวัติว่าเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยจึงได้แต่งตั้งให้ “ฆานบุดดี” หัวหน้าชาวแสกจากเมืองแสกเป็นหัวหน้ากองเรียกว่า “กองอาฑมาต” เป็นกองลาดตระเวนรักษาชายแดน ปลายพระราชอาณาจักรเขตต่อแดนญวน ต่อมาได้อพยพชาวแสกส่วนใหญ่ ให้มาตั้งอยู่ในเขตเมืองนครพนม และได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ฆานบุดดีหัวหน้าชาวแสกเป็น “หลวงเอกอาษา” เจ้าเมืองอาฑาตคนแรกขึ้นเมืองนครพนมเมื่อ พ.ศ. 2387 ในสมัยรัชกาลที่ 3 (จากเอกสาร ร.3 จ.ศ.1206 หอสมุดแห่งชาติ) ต่อมาเมืองอาฑมาต ได้ยุบเป็นตำบลอาจสามารถขึ้นอำเภอเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ. 2450 ในสมัยรัชกาลที่ 5ไทยแสกมีอยู่ในท้องที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร ผู้หญิงแสกนิยมการแต่งกาย
ที่แปลกกว่าชาวอีสานทั่วไป คือ การนุ่งผ้าซิ่นสองชั้นปล่อยให้ชายผ้าซิ่นข้างในแลบยาวออกมาเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวแสกคือ “แสกเต้นสาก” หรือ รำกระทบไม้แม้ในปัจจุบันก็ยังนิยมเล่นอยู่ในเทศกาลเดือน 3 (ตรุษแสก) ของทุกปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงการเล่นแสกเต้นสากของชาวแสกเมืองอาฑมาต (ต.อาจสามารถ จ.นครพนม) ไว้ในหนังสือโบราณคด ีในคราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร เมื่อ พ.ศ. 2449 ว่า “…เขาพาพวกผู้หญิงแสกมาเล่นให้ฉันดูอย่างหนึ่ง เรียกว่าแสกเต้นสาก มีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าหากันเรียงเป็นแถว แต่ละคนถือปลายไม้พลองมือละอันทั้งสองข้าง วางไม้พลองบนไม้ขอนที่ทอดไว้ ตรงหน้าหสองท่อนมีทางอยู่ตรงกลาง เวลาเล่น 10 คู่นั้นขับร้องแล้วเอาไม้พลองที่ถือ ลงกระทบไม้ของพร้อมๆ กันเป็นจังหวะ จัวหวะหนึ่ง จังหวะสอง ถือไม้พลองให้ห้างกัน ถึงจังหวะสามรวบไม้พลองเข้าชิดกัน มีหญิงสาว 4 คนผลัดกันเต้นทีละคู่ เต้นตามจังหวะไปในระหว่างช่องไม้พลองที่คนถือนั้น 10 คู่ต้องระวังเมื่อถึงจังหวะสามอย่าให้ถูกไม้พลองหนีบข้าตีน กระบวนเล่นมีเท่านี้…”
ภาษาแสก
ภาษาแสกคำแตกต่างไปจากภาษาชาวอีสานทั่งไป เช่น
แหร่นจือ – เห็นใจ อึงจื้อ – ดีใจ
อุ้ยจื๋อ – กลุ้มใจ ฮุ้นจ๊ก – คนดี
จู้ – น้ำนม ดังแง้น – กลางวัน
ดันกึ๊น – กลางคืน หอก – สามี
เหล่าก๊าว – เหม็นสาบ หอกพา – สามีภรรยา
ห่อยผลั่ม – หวีผม เกดทุ่ง – ปวดท้อง
เกดเทรา – ปวดหัว เค้า – สะพาน
โคกโร้ย – ภูเขา สู่ – วิ่ง
ลุ้ย – ลาก หล่อน – อร่อย
7. ไทยย้อ
ไทยย้อเป็นชาวไทยในภาคอีกสานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชอบเรียกตัวเองว่าชาวย้อ เช่น ชาวย้อ
ในจังหวัดสกลนคร ชาวย้อในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย) ชาวย้อในจังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน) และชาวย้อในจังหวัดมุกดาหาร (ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง) ภาษาและสำเนียงชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อมีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาหรือยูนนาน ต่อมาชาวย้อบางส่วนไปอพยพลงมาตามลำน้ำโขง ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองหงษา แขวงไชยบุรีของลาวปัจจุบัน เมืองหงษา เดิมอยู่ในเขตของราชอาณาจักรไทย แล้วตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และลาวต่อมา แขวงไชยบุรีของลาวเคยกลับคืนมาเป็นดินแดนของประเทศอีกครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2489 เรียกว่า “จังหวัดล้านช้าง” แต่ก็ต้องคืนดินแดนส่วนนี้ไปให้ฝรั่งเศสและลาวอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาไทยย้ออีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพมาตามลำแม่น้ำโขง และตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองไชยบุรี (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ครั้งเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุงษ์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2369 พวกไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์ กวาดต้อนให้ไปตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เมืองหลวงปุงเลง และที่เมืองคำเกิดคำม่วนต่อมา ได้ถูกกองทับไทยกวาดต้อนให้กลับมาตั้งเมืองใหม่ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกและได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงเลง เป็น “พระศรีวรราช” เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรก คือท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในปัจจุบัน นอกจากนี้ไทยย้อจากเมืองคำเกิด คำม่วน ยังได้อพยพ มาตั้งเป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ. 2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิดเป็น “พระสุวรรณภักดี” เจ้าเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลท่าขอนขาง อำเภอันทรวิชัย จังหวัดมาหาสารคาม ซึ่งยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านท่าขอนยาง บ้านกุดน้ำใส บ้านยาง บ้านลิ้นฟ้า บ้านโพน และยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม บ้านจำปา บ้านดอกนอ บ้านบุ่งเป้า บ้านนาสีนวนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม บ้านหนองแวง บ้านสา อำเภอยางตลาดและบ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนไทยย้อในจังหวัดสกลนคร อพยพมาจากเมืองมหาชัยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นดินแดนลาวในปัจจุบัน เมืองมหาชัยอยู่ห่างจากแม่น้ำโขง และเมืองนครพนมประมาณ 50 ก.ม. ไทยย้อจากเมืองมหาชัย พยพข้ามโขงมาตั้งอยู่ริมหนองหารในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนนครเมื่อ พ.ศ. 2381 (เอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอสมุดแห่งชาติ) ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร มีไทยย้ออยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร และยังมีไทยย้ออยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อย บางหมู่บ้าน ซึ่งอพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วนในสมัยรัชกาลที่ 3
8. ไทยกุลา
คำว่า กุลา มาจากภาษาพม่าซึ่งแปลว่าคนต่างถิ่น กุลาคือพวกเงี้ยว หรือพวกตองซู่ใน
รัฐไทยใหญ่ของพม่า พวกเงี้ยวหรือตองซู่เมื่อเดินทางมาค้าขายในภาคอีสานถูกชาวอีสานตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “กุลา” คือคนต่างถิ่น กุลาชอบเดินทางมาค้าขายในหัวเมืองภาคอีสานแถบกลุ่มแม่น้ำโขง ในสมัยโบราณเป็นจำนวนมากจนมีชื่อเป็นอนุสรณ์ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ชาวกุลาชอบเร่ร่อนค้าขายโดยนำเอาผ้าแพรพรรณหรือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตตลอดทั้งเครื่องทองเหลือง เช่น ฆ้อง มีดดาบ ฯลฯ มาเร่ขายในภาคอีสานโดยเฉพาะในแถบกลุ่มแม่น้ำโขงแล้วซื้อวัวควายต้อนกลับไปพม่า กุลาบางพวกได้ตั้งรกรากและแต่งานกับชาวผู้ไทยหรือชาวอีสาน เช่น ที่ตำบลแสนพัน อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนครหลายหมู่บ้านและที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร จนมีบุตรหลานสืบเชื้อสายต่อมา กุลาเหล่านี้มีสัญชาติและอยู่ในบังคับของอังกฤษเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นต้องรายงานให้สถานทูตอังกฤษทราบทุกครั้ง ผู้ชายกุลามีรูปร่างสูงใหญ่ ชอบนุ่งโสร่ง หรือไม่ก็นุ่งกางเกงขายาวปลายบานและโพกศรีษะทรงสูง เมื่อ พ.ศ. 2446 ชาวกุลาหรือเงี้ยวมาค้าขายฝิ่นอยู่ในเขตเมืองหนองสูงเป็นจำนวนมากโดยได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวผู้ไทย และตั้งรกรากอยู่ที่บ้านขุมขี้ยางในปัจจุบันต่อมาพวกกุลาซึ่งถือสัณชาติอังกฤษไม่เคารพต่อกฎหมายบ้านเมืองได้ก่อการจลาจลขึ้นที่ทุ่งหมากเฒ่าเขตเมืองหนองสูง ซึ่งขึ้นกับเมืองมุกดาหาร จนทางเมืองมุกดาหารต้องขอกำลังจากมณฑลอุดรมาสมทบเพื่อช่วยปราบปราม ปัจจุบันทุ่งหมากเฒ่าและบ้านขุมขี้ยางตัดโอนไปขึ้นกับเขตอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์แล้ว แต่ก็ยังมีลูกหลานเชื้อสายของชาวกุลาอยู่ในท้องที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหารอีกเป็นจำนวนมาก.

———————————————————–
แผนที่จังหวัดมุกดาหาร

 

ใส่ความเห็น